GUCCI พลิกวิกฤติที่เกือบพังให้กลับมาปังได้

Last updated: 14 Aug 2023  |  147 Views  | 

GUCCI พลิกวิกฤติที่เกือบพังให้กลับมาปังได้

สีสันอันจัดจ้านผสมผสานกับความวินเทจ ปฏิเสธได้ยากหากกล่าวถึง 2 สิ่งนี้แล้วจะไม่นึกถึงแบรนด์หรูที่มีสัญลักษณ์เป็นตัวอักษร GG ไขว้กันอย่าง GUCCI แบรนด์หรูจากประเทศอิตาลีที่กว่าจะยืนหยัดอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์วงการแฟชั่นกว่า 100 ปี

แต่กว่าจะกลายเป็นแบรนด์ที่มีความแข็งแกร่ง และขึ้นแท่นหนึ่งในแบรนด์ระดับโลก G U C C I เกือบจะไม่มีแม้โอกาสในการผลิตสินค้าขาย ทว่าความล้มเหลว ความผิดหวังก็กลายเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นของแบรนด์นี้เช่นกัน

 

 

เมืองฟลอเรนซ์จุดจบที่กลายเป็นต้นกำเนิด

คำกล่าวที่ว่าเมืองฟลอเรนซ์เป็นเมืองแห่งศิลปะ ประดับประดาไปด้วยจิตวิญญาณและงานสร้างสรรค์อาจจะเป็นจริงกับคนบางกลุ่ม แต่ไม่ใช่กับกุชชิโอ กุชชี่ (Guccio Gucci) ชายหนุ่มที่กำเนิดขึ้นท่ามกลางครอบครัวช่างฝีมือและเครื่องหนัง เขาเบื่อหน่ายและไม่ชอบใจนักกับธุรกิจของครอบครัว ทำให้ตัดสินใจออกจากเมืองนี้ไปเพื่อตามหาความฝันและสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจในชีวิต จุดหมายปลายทางของเขาคือเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ความยากลำบากของการย้ายถิ่นฐานไปต่างเมืองทำให้เขาได้ลองทำงานหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการรับจ้างทั่วไป ล้างจาก พนักงานเสิร์ฟอาหาร จนสุดท้ายได้ปักหลักเป็นเด็กยกกระเป๋าที่โรงแรมซา-วอย (Savoy)

 



 การใกล้ชิดกับกระเป๋า หีบ และกล่องของผู้ที่มาพักโรงแรมจากทั่วโลก ทำให้เขาหลงใหลในความแตกต่าง ความสวยงามของสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้ จากนั้นจึงได้ทำการลาออก ย้ายกลับไปยังประเทศอิตาลี เมืองฟลอเรนซ์ บ้านเกิด และเขาได้ทำงานให้กับ ฟรานซิ (Franzi) เจ้าของแบรนด์ Tony ที่ผลิตกระเป๋าเดินทาง เมื่อฝีมือของเขาถูกพัฒนาจนเข้าขั้นชั้นเยี่ยม กุชชี่จึงได้ตัดสินใจเปิดกิจการในนามของตนเองขึ้นมา โดยความตั้งใจแรกคือผลิตและวางจำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องหนัง

และในช่วงเวลานั้นหนึ่งในกีฬาหรืองานอดิเรกที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือ การขี่ม้า ทำให้ GUCCI ได้ผลิตสินค้าสำหรับการกีฬาชนิดนี้ออกมาวางจำหน่ายเช่นเดียวกับแบรนด์อื่นไม่ว่าจะเป็นเครื่องหนัง อุปกรณ์เสริม และสินค้าที่ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากทั่วโลกก็คือ อานม้า โดยมีกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่คือเหล่าราชวงศ์และชนชั้นสูงของประเทศอังกฤษ ที่หลงใหลในแถบผ้าทอสีแดงและสีเขียว เอกลักษณ์ของแบรนด์นี้เป็นอย่างมาก ทำให้ชื่อเสียงของ GUCCI แพร่กระจายไปยังทั่วโลก



อุปสรรคหยุดยั้งความสร้างสรรค์ไม่ได้

การโลดแล่นในวงการแฟชั่นของ GUCCI เป็นไปด้วยความราบรื่นและการเติบโตขึ้นในทุกวันจนกระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และอุตสาหกรรมในทุกแขนงทั่วโลก ทำให้ GUCCI ได้รับผลกระทบนั้นไปด้วย ทรัพยากรหนังได้ขาดแคลนลง ทำให้แบรนด์ได้เบนทิศทางสร้างสรรค์ผลงานประเภทสิ่งทอประเภทผ้าใบขึ้นมาทดแทน และนั่นเป็นจุดกำเนิดของลวดลายข้ามหลามตัดที่มีมุมทั้ง 4 เป็นตัว G หันหน้าเข้าหากัน ที่กลายมาเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่สำคัญของแบรนด์ นอกจากนี้ในช่วงที่หนังวัวขาดแคลน GUCCI ได้หยิบหนังหมูมาทำทดแทน แต่ทว่าจะต้องใช้หมูหลายตัวเพื่อผลิต จึงทำให้ยกเลิกไปในภายหลัง และก็ยังมีอีกหนึ่งตำนานที่กลายเป็น IT BAG ของแบรนด์ กล่าวคือ GUCCI BAMBOO กระเป๋าที่มีหูจับเป็นไม้ไผ่ญี่ปุ่น ความแตกต่างทำให้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากบุคคลทั่วไป ความสำเร็จของกระเป๋ารุ่นนี้ GUCCI ถึงกับจดสิทธิบัตรหูจับไม้ไผ่ญี่ปุ่นเป็นของตนเอง

 



ชีวิตส่วนตัวของ กุชชิโอ กุชชี่ เขาได้มีทายาทถึง 5 คนด้วยกัน แบ่งเป็นชาย 4 คน และหญิง 1 คน แต่มีลูกชายเพียง 3 คนเท่านั้นที่เขาได้ดึงเข้ามาร่วมทำธุรกิจด้วย ได้แก่ อัลโด (Aldo)  วาสโค่ (Vasco) และ โรโดลโฟ่ (Rodolfo) Gucci ได้ขยายสาขาไปยังเมืองโรม และเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก



เหตุเกิดจากความขัดแย้ง


ภายหลังการเสียชีวิตลงของ กุชชิโอ กุชชี่ ที่เปิดสาขาใหม่ในเมืองแมนแฮตตันได้เพียง 15 วัน ธุรกิจทั้งหมดกลายเป็นของบุตรชายทั้ง 3 โดยสมบูรณ์ และได้อัลโดขึ้นมาเป็นผู้นำ ท่ามกลางความร่วมมือของครอบครัว GUCCI ชื่อเสียงแบรนด์ถูกแผ่ขยายไปไกลทั่วโลก จนในเวลานั้นมีทั้งหมด 13 สาขา และ 46 ร้านแฟรนไซร์ทั่วโลก กิจการต่าง ๆ ถูกดำเนินไปด้วยความราบรื่น GUCCI กลายเป็นหนึ่งแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากถึงขนาดที่ว่าได้ประธานาธิบดีประเทศอเมริกาอย่างจอห์นเอฟเคนเนดี (John F Kennedy) มาเปน Brand Ambrassdor คนแรก

 

จนกระทั่งถึงในยุคของทายาทรุ่นที่ 3 ได้เกิดความขัดแย้งภายในของครอบครัว GUCCI ขึ้นเนื่องจาก เปาโล(Paolo) ลูกชายของ อัลโด ได้ทำการสร้างแบรนด์ลับ ๆ ขึ้นมาอีกหนึ่งแบรนด์ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัท และได้ใช้ซัพพลายเออร์จากบริษัทของ GUCCI ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันภายในเกิดขึ้น จนท้ายที่สุดตำแหน่งการควบคุมกิจการของ GUCCI ทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของ Maurizio Gucciผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องเปาโล และเขาจึงได้ทำการพยายามรีแบรนด์ GUCCI ขึ้นมาใหม่เพราะในขณะนั้นภาพลักษณ์ของตัวแบรนด์ได้มีความเสียหาย และมูลค่าของสินค้ามีราคาที่ต่ำมาก Maurizio จึงได้ทำการติดต่อ Dawn Mello ผู้เป็นประธานบริษัทของBergdorf Goodman ในขณะนั้นให้เข้ามาช่วยฟื้นฟูกิจการจนกระทั่งถึงช่วงปี 1990 GUCCI ก็ได้ดีไซเนอร์ผู้มากฝีมือจากประเทศอเมริกาอย่าง Tom Ford เข้าร่วมสมทบกับแบรนด์ เวลาผ่านไปจนกระทั่งถึงปี 1993 Maurizio Gucciได้โอนหุ้นทั้งหมดของเขาให้แก่ Investcorp ทำให้ระบบธุรกิจแบบครอบครัวและสิ่งต่าง ๆ ที่ยุ่งเหยิงได้สิ้นสุดลง

 

กลับกลายเป็นความสำเร็จ

            คุณภาพ การออกแบบ และการผลิตที่ได้รับมาตรฐานของสินค้าต่าง ๆ ในแบรนด์ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแม้ตัวแบรนด์จะเกิดปัญหาหรือเจออุปสรรคแค่ไหน สิ่งเหล่านั้นก็ยังคงอยู่ในมาตรฐานเดิมและไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ทั้งสิ้น ทำให้ผู้บริโภคหรือสาวกแบรนด์ GUCCI ยังคงอุดหนุนและเชื่อมั่น จับจ่ายกันอย่างต่อเนื่อง ถึงขนาดที่แม้เกิดโรคระบาดโคโรน่าไวรัส GUCCI ยังทำรายได้ให้ Kering Group เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และปี 2022 GUCCI มีรายได้อยู่ที่ 9.7 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นจำนวนรายได้ที่สูงสุดของประวัติการณ์ 



Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy